เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ผ่านสังคมออนไลน์ hi5 FB MSN

คุณรู้จัก Blog นี้ได้อย่างไร

เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กฏหมายไทย


วิวัฒนาการกฎหมายไทย

พระราชกำหนดบทพระอัยการของไทย
ตามคำไทยแต่เดิม "กฎหมาย" หมายแต่เพียงว่าเป็นคำสั่งของพระเจ้าแผ่นดินที่โปรดให้กดไว้หมายไว้เพื่อใช้บังคับเป็นการคงทนถาวร จะเห็นได้ในพงศาวดารเหนือ (ฉบับของพระวิเชียรปรีชา) ตอนที่พระยาพสุจราชแห่งราชวงศ์พระร่วงได้จัดการแต่งบ้านแต่งเมืองออกรับกองทัพพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก มีความว่า "แล้วให้กำหนดกฎหมายไว้ทุกหน้าด่าน แล้วให้กำหนดกฎหมายไปถึงเมืองกัมโพชนคร ให้กำหนดกฎหมายสืบ ๆ กันไปถึงเมืองคีรี เมืองสวางคบุรี เมือง... ฯลฯ"
[13] ในภาษาไทยแต่เดิม กฎหมายจึงหมายถึงคำสั่งที่ได้กดไว้หมายไว้ให้เป็นที่แน่นอนเท่านั้น ทั้งนี้ คำว่า "กฎหมาย" เป็นคำกริยา ซึ่งประกอบขึ้นจากกริยา "กฎ" มีความหมายว่า "จดบันทึก, จดไว้เป็นหลักฐาน, ตรา" อันเป็นคำที่มาจากภาษาเขมรว่า "กต่" มีความหมายว่า "จด" + นาม "หมาย" ซึ่งแปลว่า "หนังสือ"[1]
แต่โบราณกาล เพื่อให้คำสั่งอันเป็นกฎหมายเป็นของขลังและเป็นที่เคารพเชื่อฟัง จึงมักมีการอ้างเอาความศักดิ์สิทธิ์แห่งสรวงสวรรค์ว่าเป็นที่มาของกฎหมายหรือเป็นที่มาของอำนาจที่ใช้ออกกฎหมาย เช่น ของอังกฤษ ในตอนต้นของกฎหมายมักเขียนว่า "อาศัยพระราชอำนาจอันทรงได้รับประทานจากเทพยุดาฟ้าดิน สมเด็จพระราชินีนาถจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราขึ้นไว้ดังต่อไปนี้" (
อังกฤษ: The Queen, by the Grace of God, enacts as follows:)
ถึงแม้ว่าชั้นเดิม กษัตริย์จะชื่อว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์คือมีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน แต่การจะสั่งให้เป็นกฎหมายนั้นก็ต้องอาศัยอ้างเหตุอ้างผลเพื่อให้คนทั้งหลายเห็นว่าเป็นคำสั่งที่เป็นธรรม เหตุผลที่ยกขึ้นส่วนมากคือจารีตประเพณี เช่น กฎหมายไทยที่ว่า "อันว่าสาขคดีทั้งหลายดั่งพรรณนามานี้ อันบูราณราชกษัตริย์มีบุญญาภินิหารสมภารบารมีเป็นอธิบดีประชากร ผจญข้าศึกเสร็จแล้ว แลเป็นอิสรภาพในบวรเศวตรฉัตร ประกอบด้วยศีลสัจวัตรปฏิบัติเป็นอันดี...ทรงพระอุตสาหะพิจารณาคำนึงตามคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ แล้วมีพระราชบัญญัติดัดแปลงตกแต่งตั้งเป็นพระราชกำหนดบทพระอัยการไว้โดยมาตราเป็นอันมาก...มาตราบเท้าทุกวันนี้"
[13]
สำหรับประเทศไทยนั้นเดิมทีมีกฎหมายฉบับหนึ่งซึ่งเรียกเป็นการทั่วไปว่า "พระอัยการ" เป็นกฎหมายแม่บทเสมอรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน พระอัยการนี้ต่อมารู้จักกันในชื่อ "
กฎหมายตราสามดวง" ซึ่งเป็นกฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้ชำระขึ้นใหม่เพราะของเก่าล้วนสูญหายไปเมื่อตอนกรุงศรีอยุธยาแตกก็มี วิปริตผิดเพี้ยนไปก็มี เป็นต้น แต่พระอัยการนั้นพึงเข้าใจว่าเป็นกฎหมายก่อนกฎหมายตราสามดวง แต่มีวิวัฒนาการไปเป็นกฎหมายตราสามดวง
พระอัยการดังกล่าวมีที่มาจากคัมภีร์
มนูธรรมศาสตร์ของอินเดีย เนื่องจากเชื่อกันมาพระอัยการนี้เป็นของที่เทวดาบัญญัติขึ้น และจารึกไว้ที่กำแพงจักรวาลตรงสุดป่าหิมพานต์ มนุษย์เราเพียงแต่ไปพบมา จึงเป็นของศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง จะแก้ไข เปลี่ยนแปลง ยกเลิก หรือเพิ่มเติมอย่างไรไม่ได้ทั้งสิ้น หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อธิบายเกี่ยวกับระบบกฎหมายเก่าของไทยว่า

แต่บทพระอัยการนี้เป็นของเก่า เขียนมาแต่โบราณ บางทีก็มีบทซับซ้อนกัน บางทีก็เขียนด้วยภาษาเก่าจนไม่สามารถจะเข้าใจได้ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในบทพระอัยการเช่นนี้ก็เป็นหน้าที่ของขุนศาลตระลาการจะต้องนำบทพระอัยการที่เป็นปัญหานั้นขึ้นถวายให้ทอดพระเนตร และกราบบังคมทูลขอพระราชวินิจฉัยว่าเป็นอย่างไรกันแน่ สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินจึงทรงพระราชวินิจฉัย...พระราชวินิจฉัยนั้นก็ถือว่าเป็นกฎหมายเอาไว้ใช้เป็นหลักได้ต่อไป เรียกว่าพระราชบัญญัติ ส่วนพระราชกฤษฎีกานั้นมีบทลงโทษเช่นเดียวกับกฎหมาย แต่ถ้าจะว่าไปแล้วเป็นระเบียบภายในพระราชฐานหรือเท่าที่เกี่ยวกับพระองค์สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น มิได้ใช้บังคับในบ้านเมืองทั่วไปเหมือนกับกฎหมาย อีกอย่างหนึ่งคือพระราชกำหนด พระราชกำหนดนั้นแต่ก่อนมิได้เป็นกฎหมาย แต่เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับซึ่งใช้กับข้าราชการที่รับราชการอยู่เท่านั้น จะได้ใช้บังคับแก่ราษฎรโดยทั่วไปก็หาไม่

ปรากฏในเสภาขุนช้างขุนแผนว่าพระราชกฤษฎีกาเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเกี่ยวกับเรื่องส่วนพระองค์เท่านั้น ในตอนที่ขุนช้างจะเข้าไปถวายฎีกาฟ้องร้องพลายงามต่อสมเด็จพระพันวษา บังเอิญว่าทรงเสด็จประพาสทางเรือ ขุนช้างจึงไปรอถวายฎีกาอยู่ริมน้ำ พบเรือพระที่นั่งกลับมาพอดีก็โจนลงน้ำลอยคอชูหนังสือฎีกาเข้าไปถวาย ณ เรือพระที่นั่ง ทำเอาบรรดาฝีพายและผู้อยู่บนเรือตกใจไปตาม ๆ กัน แต่การถวายฎีกานั้นมีธรรมเนียมว่าราษฎรมีสิทธิถวายที่ไหนก็ได้ และพระมหากษัตริย์ก็จะต้องทรงหยุดรับเสมอไป สมเด็จพระพันวษาจึงโปรดให้รับฎีกาของขุนช้างไว้ และทรงให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นใหม่ให้ชาวพนักงานคอยอารักขาพระองค์ให้จงดี อย่าให้ผู้ใดผลุบเข้ามาได้โดยง่ายเช่นครานี้ มิเช่นนั้นต้องระวางโทษถึงประหารชีวิต ดังเสภาว่า[14]
วันนั้นพอพระปิ่นนรินทร์ราช
เสด็จประพาสบัวยังหากลับไม่
ขุนช้างมาถึงซึ่งวังใน
ก็คอยจ้องที่ใต้ตำหนักน้ำ ฯ
๏ จะกล่าวถึงพระองค์ผู้ทรงเดช
เสด็จคืนนิเวศน์พอจวบค่ำ
ฝีพายรายเล่มมาเต็มลำ
เรือประจำแหนแห่เซ็งแซ่มา
พอเรือพระที่นั่งประทับที่
ขุนช้างก็รี่ลงตีนท่า
ลอยคอชูหนังสือดื้อเข้ามา
ผุดโผล่ดงหน้ายึดแคมเรือ
เข้าตรงโทนอ้นต้นกัญญา
เพื่อนโขกลงด้วยกะลาว่าผีเสื้อ
มหาดเล็กอยู่งานพัดพลัดตกเรือ
ร้องว่าเสือตัวใหญ่ว่ายน้ำมา
ขุนช้างดึงดื้อมือยึดเรือ
มิใช่กระหม่อมฉานล้านเกศา
สู้ตายขอถวายซึ่งฎีกา
แค้นเหลือปัญญาจะทานทนฯ
๏ ครานั้นสมเด็จพระพันวษา
ทรงพระโกรธาโกลาหล
ทุดอ้ายชั่วมิใช่คน
บนบกบนฝั่งดังไม่มี
ใช่ที่ใช่ทางวางเข้ามา
หรืออ้ายช้างเป็นบ้ากระมังนี่
เฮ้ยใครรับฟ้องของมันที
ตีเสียสามสิบจึงปล่อยไป
มหาดเล็กก็รับเอาฟ้องมา
ตำรวจคว้าขุนช้างหาวางไม่
ลงพระราชอาญาตามว่าไว้
พระจึงให้ตั้งกฤษฎีกา
ว่าตั้งแต่วันนี้สืบต่อไป
หน้าที่ของผู้ใดให้รักษา
ถ้าประมาทราชการไม่นำพา
ปล่อยให้ใครเข้ามาในล้อมวง
ระวางโทษเบ็ดเสร็จเจ็ดสถาน
ถึงประหารชีวิตเป็นผุยผง
ตามกฤษฎีการักษาพระองค์
แล้วลงจากพระที่นั่งเข้าวังใน ฯ
ระเบียบกฎหมายไทยเป็นดังนี้มาจนถึงช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยก็ได้ยึดแนวทางตรากฎหมายอย่างอังกฤษ กระนั้น คำเรียกกฎหมายก็เฝืออยู่ เช่น บางฉบับตราเป็นพระราชกำหนดแต่ให้ชื่อว่าพระราชบัญญัติก็มี
ราชบัณฑิตยสถานสันนิษฐานว่าเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะพระราชกำหนดและพระราชบัญญัติสมัยนั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน[13] ครั้นต่อมาเมื่อมีรัฐธรรมนูญสำหรับปกครองแผ่นดินขึ้นแล้ว ก็มีการแบ่งแยกอำนาจเป็นฝ่าย ๆ ไป อำนาจในการออกกฎหมายจึงตกแก่ฝ่ายนิติบัญญัติ และกฎหมายก็เป็นระบบระเบียบดังกาลปัจจุบัน

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของ ทฤษฎีใหม่


เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของ ทฤษฎีใหม่
เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี
เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม
ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ได้ดั้งนี้
ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี
เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม
ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ได้ดั้งนี้
ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว

เศรษฐกิจพอเพียงระดับประเทศ


การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงระดับประเทศ
แผนการบริหารจัดการประเทศ ที่ส่งเสริมให้บุคคล/ชุมชนต่างๆ มีวิถีปฏิบัติ มีความร่วมมือ และการพัฒนาในสาขาต่างๆ ตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มจากการวางรากฐานของประเทศให้มีความพอเพียง โดยส่งเสริมให้ประชาชนสามารถอยู่อย่างพอมีพอกิน และพึ่งตนเองได้ด้วยมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตอย่างเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ และมีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร เอื้อเฟื้อแบ่งปัน และใช้สติปัญญา พร้อมทั้งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจ และรู้ความเป็นจริงระหว่างกันของคนในประเทศจนนำไปสู่ความสามัคคีและจิตสำนึกที่จะร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไป

เศรษฐกิจพอเพียงระดับสังคม


ความพอเพียงในระดับสังคม
เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของชุมชนหลายๆแห่งที่มีความพอเพียง มาร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ สืบทอดภูมิปัญญาและร่วมกันพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างชุมชน ให้เกิดเป็นสังคมแห่งความพอเพียงในที่สุด

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจพอเพียง ระดับครอบครัว



ความพอเพียงในระดับครอบครัว คือ การที่สมาชิกในครอบครัวมีความเป็นอยู่ในลักษณะที่พึ่งพาตนเองได้อย่างมีความสุข ทั้งทางกายและทางใจ สามารถดำเนินชีวิต ได้โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น รวมทั้งไม่เป็นหนี้หรือมีภาระด้านหนี้สินของตนเองและครอบครัว แต่สามารถหาปัจจัย ๔ มาเลี้ยงตนเองได้โดยที่ยังมีเหลือเป็นส่วนออมของครอบครัวด้วย